หลาย ๆ คนที่สนใจติดตามเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกในรอบ ทศวรรษที่ผ่านมา ย่อมผ่านหูผ่านตากับชื่อของ “ไครเมีย” (Crimea) มาบ้าง เนื่องจากไครเมียเพิ่งถูกเปลี่ยนมือจากยูเครนมาอยู่ในมือของ รัสเซียเมื่อเดือนมีนาคม ปี 2014 อันนำไปสู่การที่สหภาพยุโรปร่วม กันคว่ำบาตรรัสเซีย และทำให้ค่าเงินรูเบิ้ลร่วงกรูดลงมาเกือบครึ่ง การที่ค่าเงินรูเบิ้ลตก อาจทำให้การส่งออก นำเข้าของรัสเซียประสบ ปัญหาอย่างหนัก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสอันดีที่จะดึงดูด นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เดินทางไปเยือน ในยามที่ข้าวของและ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ราคาถูกลง
การจะชวนเพื่อนไปเที่ยวเมืองหรือสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอย่าง มอสโก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และที่บูมเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่อง เที่ยวไทยในช่วงปีที่ผ่านมา คือ การไปชมแสงเหนือรัสเซียที่เมือง มูร์มันสก์ คงไม่ใช่เรื่องยาก แต่กับไครเมียอาจไม่ง่าย หลาย ๆ คน คิดว่าสถานการณ์ในไครเมียเต็มไปด้วยความรุนแรง เหตุการณ์ยัง ไม่สงบ มีสงคราม ฯลฯ รวมไปถึง ไปทำไม มีอะไรเที่ยว ซึ่งในตอน แรก ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่มีคำถามเหล่านี้ จนกระทั่งได้เห็นภาพ ของปราสาทแห่งหนึ่ง เป็นปราสาทหลังเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ริมหน้าผาที่ ยื่นออกไปในทะเล ภาพนั้นมีแรงดึงดูดมากพอที่จะทำให้ผมเริ่มต้น หาข้อมูลของไครเมียเพิ่มเติมเล็กน้อย และออกเดินทางสู่…ไครเมีย
ผมเดินทางจากมอสโกสู่ไครเมียพร้อมกับเจ้าหน้าที่ ทหารรัสเซียคณะหนี่งประมาณ 20 ท่าน ออกจะ หลอนนิด ๆ เมื่อปะติดปะต่อเชื่อมโยงข้อมูล ที่ค้นมาเกี่ยวกับการประท้วงใหญ่ สงคราม เครื่องบิน ที่หายไป ระหว่างที่บิน ผมก็มีแอบมองลอดหน้าต่าง เครื่องหลายครั้ง เพื่อสังเกตการณ์ดูว่า จะมี เครื่องบินมาบินประกบหรือมีขีปนาวุธถูกยิงขึ้นมา หรือไม่ แต่สุดท้าย ผมก็ถึงสนามบินซิมเฟอโรโปล ที่ตั้งอยู่ในเมืองชื่อเดียวกับสนามบิน และเป็น เมืองหลวงของสาธารณรัฐไครเมียอย่างปลอดภัยดีสนามบินที่นี่ ค่อนข้างใหญ่และใหม่ ดีกว่าตาม เมืองเล็ก ๆ ของรัสเซียพอสมควร พาร์ทเนอร์ของผมเอง ที่เดินทางไปด้วยกัน เป็นผู้ วางแผนการเดินทางในไครเมีย มีรถส่วนตัวมารับ พร้อมคนขับตัวใหญ่ แล้วออกเดินทางสู่เมืองยัลตา (Yalta) เมืองตากอากาศที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง ของรัสเซีย เมื่อออกจากสนามบิน สังเกตได้ว่ามี Trolleybus หรือ รถบัสที่มีเสาเชื่อมกับสายไฟ ด้านบน วิ่งอยู่แบบไม่เร็วมากนัก มารู้ทีหลังว่า Trolleybus ที่ไครเมีย มีสายการเดินรถลักษณะนี้ ยาวที่สุดในโลก เดินทางจากเมืองซิมเฟอโรโปลไป ยังเมืองยัลตา เป็นระยะทางประมาณ 86 กิโลเมตร ถนนหนทางที่ไครเมียค่อนข้างจะคดโค้ง ทำให้ใช้ เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในการเดินทางจากสนาม บินมาถึงที่พัก ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทะเลดำ หลังจาก เก็บข้าวของในที่พักแล้ว เราชวนกันออกไปเดิน เล่นบริเวณริมทะเลดำ บันไดเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ หลังแนวตึกเก่า พาเราลงยังชายหาดด้านล่างความรู้สึกแรกที่เห็นทะเลดำ คือ สวยงาม น้ำทะเล สีเขียวเวอร์ริเดียนสลับฟ้าซัดคลื่นน้อย ๆ กระทบฝั่ง ทะเลดำไม่ได้มีสีดำ แต่ทำไมถึงเรียก ทะเลดำ ความจริงเป็นเพราะบางส่วนของดิน หรือทรายของชายหาดที่อยู่รอบ ๆ ทะเลดำนี้มี สีดำ อันเนื่องมาจากแบคทีเรียที่อยู่ในทะเลผลิตสาร ไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือก๊าซไข่เน่านั่นเอง
จากริมชายหาด เราเดินลัดเลาะตัดผ่านเมืองไป เรื่อย ๆ เพื่อมุ่งหน้าไปชมโซนช้อปปิ้งของเมือง ซึ่งอยู่บริเวณริมชายหาดอีกฝั่งหนึ่ง บ้านเมืองใน ยัลตาสงบเรียบร้อย ผู้คนใช้ชีวิตกันตามปกติ มีร้านค้าเรียงรายอยู่ในอาคารสไตล์ยุโรป อนุสาวรีย์ ของเลนินอยู่บริเวณกลางหาด มีบริการรถไฟ (เป็นรถไฟเหมือนที่วิ่งอยู่ในห้างเมืองไทย) คอยบริการ พานักท่องเที่ยวไปสำรวจริมชายหาดแบบไม่ต้องเดิน มีร้านอาหารที่สร้างเป็นเรือตั้งยื่นลงไปในทะเลเมืองยัลตาสร้างความประทับใจให้กับเราได้ พอสมควร แต่นั่นเทียบไม่ได้เลยกับสถานที่ ที่เราจะไปเยือนในวันถัด ๆ ไป รัสเซียได้ผนวกไครเมียเข้ามาตั้งแต่ในสมัยของ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินี เมื่อปี ค.ศ.1783 และ ด้วยความที่มีอากาศค่อนข้างดี ทำให้พระเจ้าซาร์ ราชวงศ์ชั้นสูง รวมทั้งบรรดาขุนนาง ต่างนิยมไป สร้างพระราชวัง คฤหาสน์ บ้านพักตากอากาศ ที่ไครเมียกัน ทำให้หลาย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวใน ไครเมีย ก็คือบรรดาอาคารต่าง ๆ เหล่านี้นี่เอง ก่อนที่ต่อมาไครเมียจะถูกยกให้กับยูเครนในช่วง ปี 1954 โดยตอนนั้นยูเครนยังเป็นส่วนหนึ่งของ สหภาพโซเวียต เมื่อโซเวียตแตก ยูเครน กลายมาเป็นประเทศ และไครเมียก็เลยติดมา กับยูเครนนับแต่นั้นจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ รัสเซียผนวกไครเมียดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น
ในการมาเที่ยวไครเมียครั้งนี้ ผมได้ไปเยือนผลงาน สถาปัตยกรรมที่สวยงามหลายแห่ง เริ่มจาก พระราชวังมาสซานดรา (Massandra Palace) พระราชวังเก่าของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่สาม สร้างในสไตล์ฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่สิบสาม และถือเป็นพระราชวังสำหรับพักร้อนสำหรับ พระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ก่อน ที่ต่อมาทุกพระองค์จะเลิกประทับที่นี่และไป ประทับที่พระราชวังลิวาเดียแทน ตัวพระราชวัง ตั้งอยู่บนเนินสูง ด้านหน้ามีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ด้านข้างของอาคารมีระเบียงที่มองเห็นทะเล สุดลูกหูลูกตา ตอนผมไปมีหิมะขาวโพลนปกคลุม ปราสาท สีขาวของหิมะขับให้สีเหลืองของตัว อาคารโดดเด่นสวยงามขึ้นมาก
ห่างจากพระราชวังมาสซานดราลงมาทางใต้ ประมาณครึ่งชั่วโมง คือ พระราชวังลิวาเดีย พระราชวังลิวาเดีย (Livadia palace) พระราชวัง ตากอากาศของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ตัวอาคาร ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน คือพระราชวังใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น แทนที่พระราชวังเดิมหลังเล็กที่เป็นที่ตากอากาศ ของราชวงศ์โรมานอฟในตำบลลิวาเดียมาตั้งแต่ กลางศตวรรษที่ 19 พระราชวังสร้างแล้วเสร็จในปี 1911 เปิดครั้งแรกกับการฉลองวันประสูติของเจ้า หญิงโอลก้า พระราชธิดาในพระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่สองครบ 16 ชันษา ความสำคัญคือเป็นสถานที่ ที่ใช้จัดประชุมสุดยอดยัลต้าในสมัยสงครามโลก ครั้งที่สอง โดยผู้นำโซเวียต อังกฤษและอเมริกา ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ เหมือนครั้งที่มีการประชุม นอกจากนั้น พระราชวัง แห่งนี้ยังเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จด้วยราชการ ลับมาเข้าเฝ้าพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ในปี ค.ศ.1891 และเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อครั้ง นั้นอีกด้วย
จากจุดที่รถจอดสามารถมองเห็นปราสาทได้แต่ไกล คนขับตัวใหญ่ของเราชี้บอกทางให้เดินลงบันได ด้านล่างที่ทอดยาวไปยังตัวปราสาท ใบไม้สีส้ม แดงเรียงรายอยู่ตลอดระยะทาง มีร้านค้าขายของ ระลึกอยู่ประปราย บรรยากาศค่อนข้างเงียบเหงา แต่ความเงียบเหงานี้กลับยิ่งขับเน้นความงดงาม ของปราสาทแห่งนี้ขึ้นอีกมาก ผมเดินขึ้นไป บริเวณเนินด้านหลังของปราสาทเพื่อถ่ายรูป กับตัวปราสาท มีฉากหลังคือดวงอาทิตย์ที่กำลัง ลาลับและท้องทะเลกว้างใหญ่ ในความเห็น ส่วนตัวแล้วผมยกให้ปราสาทนี้เป็นหนึ่งในสาม ปราสาทที่สวยที่สุดตั้งแต่เคยไปดูมา แม้ปราสาท แห่งนี้จะมีขนาดเล็ก แต่ความงดงามไม่แพ้ปราสาท ใหญ่อย่างนอยชวานชไตน์ของเยอรมันเลย โดยปราสาทรังนกนางแอ่นนี้ เคยติดอยู่ในลิสต์ 1 ใน 20 สถานที่ที่ต้องไปก่อนตายของเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกปี 2003 ด้วยหลังจากชมปราสาท รังนกนางแอ่นแล้ว ผมก็คิดว่าไครเมียคงจบเท่านี้ จะมีที่ไหนในไครเมียให้น่าสนใจได้อีก
แต่ผมคิดผิด ไครเมีย ยังมีสถานที่ที่จะเซอร์ไพรส์ นักท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง
ลงใต้มาอีกไม่ไกลคือพระราชวังโวโรนซอฟ (Vorontsov Palace) พระราชวังเก่าแก่และใหญ่ ที่สุดในไครเมียของตระกูลโวโรนซอฟ ตั้งอยู่บริเวณ เชิงเขาไครเมียและริมฝั่งทะเลดำ สร้างโดยเจ้าชาย มิคาอิล โวโรนซอฟ ผู้สำเร็จราชการเมืองโนโวรอส ซิย่า พระราชวังแห่งนี้ ด้านหน้าดูคล้ายพระราชวัง แบบอังกฤษ แต่พอเดินออกมากลับกลายเป็น อาคารแบบตะวันออกกลางเสียอย่างนั้น
นอกจากนี้ยังมีซากเมืองยุคกรีก ชื่อว่า เมืองเคอร์- โซนีซุส (Chersonesus) ซึ่งถูกยกให้เป็นมรดก โลกโดยองค์การยูเนสโก ซากของอาคารต่าง ๆ ตั้งอยู่เรียงรายอย่างมีระบบแบบแผนริมทะเลดำ บางจุดยังมีซุ้มประตูและเสากรีกตั้งตระหง่าน เมืองโบราณแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมืองเซวาสโตโปล เมืองท่าสำคัญที่สุดในทะเลดำของรัสเซีย ระหว่าง ทางจากเซวาสโตโปล กลับไปที่เมืองซิมเฟอโรโปล ยังมีพระราชวังบักชี ซาราย (Bakhchisaray) ที่ประทับของข่านแห่งไครเมีย ซึ่งมีความสวยงาม เรียบง่าย แปลกตา น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ด้วยความที่ไครเมีย มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้มีวัฒนธรรมผลัดกันเข้ามาสร้างอิทธิพลซ้อน ทับกัน ซึ่งถือเป็นเสน่ห์น่าหลงใหล และเย้ายวนต่อ นักเดินทางมาก หากคุณมีเวลา 4 – 5 วัน ก็ถือว่า มากพอที่จะมาเยือนไฮไลท์ต่าง ๆ ของไครเมียได้ ถ้าเอาแบบสบาย ๆ อาจจะต้องใช้เวลาสัก อาทิตย์หนึ่ง
ถนนหนทางของไครเมียอาจจะไม่ซับซ้อนงงงวย จนถึงขั้นทำให้คุณหลงทาง แต่ปราสาท พระราชวัง และธรรมชาติที่งดงามอีกมากมายของไครเมีย ก็พร้อมที่จะทำให้นักเดินทางที่มาเยือน หลงรักดิน แดนแห่งนี้ได้อย่างไม่ยากเย็นเลย