ไครเมีย เป็นสาธารณรัฐที่มีสิทธิปกครองตนเองทางใต้ของยูเครน เป็นคาบสมุทรที่แบ่งทะเลทะเลดำกับทะเลอาซอฟ

ดินแดนแห่งนี้เปราะบางต่อการเกิดความตึงเครียดด้านการแบ่งแยกดินแดนมาตลอด และกระแสนี้ก็มีมากขึ้น หลังจากสภายูเครนปลดประธานาธิบดีวิกเตอร์ ยานูโควิช

ในเมืองซิมเฟอโรพอล อันเป็นเมืองเองของไครเมีย ผู้สนับสนุนรัสเซียได้ทะเลาะวิวาทกับผู้สนับสนุนรัฐบาลรักษาการของยูเครน

ไครเมีย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 27,000 ตารางกิโลเมตร มีประวัติทั้งการถูกรุกรานและครอบครอง โดยเมื่อปี 1782 ถูกชนเชื้อสายทาทาร์สครอบครอง ปัจจุบันชนเชื้อสายนี้มีสัดส่วน 12% ของประชากร 2 ล้านคนในไครเมีย ซึ่งเป็นดินแดนแห่งเดียวของยูเครนที่มีชนส่วนใหญ่เป็นรัสเซีย

จากนั้นไครเมียก็ถูกตีโดยพวกเติร์กในอาณาจักรออตโตมานเมื่อปี 2018 และถูกครอบครอบโดยรัสเซียเมื่อปี 2326

สมัยอยู่ใต้การปกครองของคอมมิวนิสต์หลังจากการปฏิวัติรัสเซีย ไครเมียถูกถ่ายโอนจากรัสเซียมาให้ยูเครนเมื่อปี 2497 โดยนายนิกิตา ครุสเชพ ผู้นำโซเวียตสมัยนั้น จากนั้น และไครเมียก็ถูกมองมาตลอดว่าเป็นจุดที่ล่อแหลมต่อการเป็นชนวนของความขัดแย้ง

พวกทาทาร์ส ซึ่งถูกเนรเทศไปไซบีเรียและเอเชียกลางเมื่อสมัยโจเซฟ สตาลิน ได้กลับไปยังไครเมียหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการได้เอกราชของยูเครนเมื่อปี 2534 คนกลุ่มนี้สนับสนุนการประท้วงต่อต้านนายยานูโควิชที่ดำเนินไป 3 เดือนช่วงก่อนหน้านี้

เมื่อปี 2535 ไครเมียก็กลายเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองภายในยูเครน

ขณะเดียวกัน ไครเมียก็ยังมีความสำคัญทางภูมิยุทธศาสตร์ เพราะกองเรือทะเลดำของรัสเซียตั้งอยู่ในเมืองเซวาสโทโพลของไครเมีย

หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายเมื่อปี 2534 ประเด็นกองเรือทะเลดำกลายเป็นจุดที่สร้างความระคายเคืองในความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซีย เมื่อยูเครนเรียกร้องขอกรรมสิทธิบางส่วนจากกองเรือนี้

จนกระทั่งในปี 2553 หลังจากขัดแย้งในประเด็นนี้กันมาหลายปี สภาของรัสเซียกับยูเครนก็ได้ขยายสัญญาเช่าท่าเรือเซวาสโทโพลของรัสเซียออกไปอีก 25 ปี แลกเปลี่ยนกับการลดค่าก๊าซจากรัสเซียให้ 30%

ในด้านการเกษตรนั้น ไครเมียเป็นดินแดนเหมาะแก่การเพาะปลูกด้านการเกษตรรวมถึงการปลูกไวน์ ทั้งยังอุดมไปด้วยต้นยาสูบ นอกจากนั้น ยังเป็นพื้นที่ที่ขึ้นชื่อด้านแหล่งท่องเที่ยว เพราะสภาพอากาศที่พอเหมาะ ดังนั้นจึงมีรีสอร์ทริมทะเลหลายแห่ง ที่โด่งดังคือยัลตา

ล่าสุดดินแดนแห่งนี้ตกอยู่ในความตึงเครียดอีกครั้งเมื่อประธานาธิบดีวาลดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย ขอให้สภาสูง ให้อำนาจในการใช้กองกำลัง รับมือกับสถานการณ์พิเศษในยูเครนและภัยคุกคามต่อชีวิตของชาวรัสเซีย โดยประธานาธิบดีปูตินขออนุมัติที่จะใช้กำลังทหารรัสเซียกับดินแดนยูเครน จนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองในยูเครนจะกลับสู่ภาวะปกติ

ประธานาธิบดีปูตินกล่าวด้วยว่ารัสเซียต้องปกป้องทหารของกองเรือทะเลดำที่ประจำการอยู่ที่ท่าเรือของไครเมีย ให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ

การเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีปูตินมีขึ้น หลังจากนายเซอร์ดี อักส์โยนอฟ ผู้นำคนใหม่ของไครเมีย ร้องขอความช่วยเหลือไปยังรัสเซีย ให้ช่วยรับรองสันติภาพและความสงบของไครเมีย

ขณะที่วุฒิสมาชิกรัสเซียเผยว่านับแต่เกิดวิกฤติในยูเครน ได้มีชาวยูเครนหนีเข้าไปในรัสเซีย 143,000 คน

ด้านทูตรัสเซียประจำยูเอ็นกล่าวว่าประธานาธิบดีปูตินยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะใช้กำลังทหาร พร้อมวิจารณ์ชาติตะวันตกที่สนับสนุนผู้ประท้วงในยูเครน