สงครามกับประวัติศาสตร์ : กรณีสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853 – 1856)

Crimean War

    สงครามไครเมีย เป็นสงครามที่สะท้อนให้เห็นความพยายามของประเทศมหาอำนาจยุโรป ที่ต้องการสร้างสันติภาพ และการสร้างสันติภาพได้ทำให้เกิดสงครามที่ทารุณโหดร้าย ทหารล้มตายในสงครามมากมายและยังเกิดโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย แต่อย่างไรก็ตาม สงครามก็ไม่ได้ก่อผลด้านความหายนะและทำลายล้างเพียงอย่างเดียว สงครามยังกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์งานด้านต่างๆ ขึ้นเช่นกัน ดังนั้นหลังสงครามจึงเกิดผลงานด้านวรรณกรรม ความก้าวหน้าทางการแพทย์ พยาบาล วิทยาศาสตร์และอาวุธยุทโธปกรณ์

    สงครามไครเมียเป็นสงครามที่ทำลายความร่วมมือของมหาอำนาจยุโรปที่เรียกว่า ความร่วมมือแห่งยุโรป (Concert of Europe) ซึ่งเป็นความพยายามของยุโรปหลังสงครามนโปเลียน (ค.ศ. 1805 – 1815) ที่จะรักษาสันติภาพ ไว้ด้วยการจัดประชุมร่วมกันของมหาอำนาจยุโรปเป็นครั้งคราวเพื่อแก้ปัญหาต่างๆของยุโรป และสงครามไครเมียได้ละเมิดหลักการดุลอำนาจตามข้อตกลงของกระประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna: ค.ศ. 1814-1815) ที่ได้ตกลงกันในหลักการสำคัญ 3 ข้อ

  1. หลักการชดเชยคินแดน (Compensation)
  2. หลักการฟื้นฟูอำนาจของผู้ปกครองเก่า (Restoration)
  3. หลักการจัดทำหลักประกันความปลอดภัย (Guarantees)

    ตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศมหาอำนาจตยุโรปซึ่งได้แก่อังกฤษ ฝรั่งเศส ปรัสเซีย ออสเตรียและรุสเซีย และเป็นการสร้างดุลอำนาจให้เกิดขึ้นในยุโรป เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัย

สาเหตุการเกิดสงครามไครเมีย สืบเนื่องมาจากการแข่งขันและความหวาดระแวงกันของมหาอำนาจยุโรป

    ในเรื่องเกี่ยวกับจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก นั่นคือ อังกฤษละฝรั่งเศสไม่ไว้วางใจนโยบายของรุสเซีย ที่ขยายอิทธิพลไปยังดินแดนตะวันออกใกล้อังกฤษและฝรั่งเศสจึงร่วมมือกันต่อต้านรุสเซีย ประเด็นที่นำไปสู่สงคราม คือ ปัญหาศาสนา เนื่องจากพระนิกายกรีกออร์ทอดอกซ์ (Greek Orthodox) กับพระนิกายคาทอลิก (Catholic) ได้เกิดพิพาทกันในการดูแลสถานศักดิ์สิทธิ์ของคริสต์ศาสนาที่กรุงเบธเลเฮ็ม (Bethlehem) พระเจ้านโปเลียนที่สามทรงต้องการความสนับสนุนจากชาวฝรั่งเศสที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก และต้องการขยายอิทธิพลเข้าไปยังดินแดนตะวันออกใกล้ พระองค์จึงบีบสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมานเตอร์กให้แก้ไขความเดือดร้อนของพระนิกายคาทอลิก ในปี ค.ศ. 1852 ฝรั่งเศสได้บังคับให้สุลต่านลงนามในสนธิสัญญายินยอมให้สิทธิพิเศษแก่ฝรั่งเศษในการเข้าไปคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนนิกายคาทอลิกในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก สนธิสัญญานี้ซ้ำซ้อนกับสนธิสัญญาคูชุกไคนาร์จี ค.ศ. 1774 และสนธิสัญญาอาเดรียโนเปิล ค.ศ. 1829 ซึ่งให้สิทธิ์แก่รุสเซียในการคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนในดินแดนของจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก

    รุสเซียต้องการให้อังกฤษร่วมมือในการขยายอิทธิพลเข้าไปในดินแดนจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก ซึ่งซาร์นิโคลัสที่หนึ่งทรงเรียกว่า คนป่วยแห่งยุโรป (The Sick man of Europe) รุสเซีย จึงดำเนินการทูตโดยการปรึกษาหารือกับเซอร์แฮมิลตัน เชมัวร์ (Sir Hamilton Seymour) เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โดยเสนอว่า ถ้าอังกฤษไม่ขัดขวางรุสเซียในการทำสงครามขับจักรวรรดิออตโตมานเตอร์กออกจากแผนที่ยุโรป รัฐในแหลมบอลข่าน คือ เซอร์เบีย บัลแกเรียได้รับเอกราช รุสเซียเข้าครอบครองช่องแคบบอสพอรัส ออสเตรียได้ช่องแคบดาร์ดาแนล และอังกฤษได้อียิปต์และเกาะครีต ปรากฎว่าอังกฤษไม่ได้ตอบรับหรือปฏิเสธจากท่าทีเงียบเฉยของอังกฤษ ทำให้รุสเซียเข้าใจผิดว่าอังกฤษเห็นชอบด้วย

    เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1853 รุสเซียส่งเจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เมนชีคอฟ (Prince Alexander Mcnshikov) ไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลเพื่อเรียกร้องให้จักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก สุลต่านจึงใช้เหตุการณ์นี้ล่อให้มหาอำนาจยุโรปขัดแย้งกันเอง เพื่อความอยู่รอดของจักรสรรดิตน ประกอบกับอังกฤษมีนโยบายจะรักษาไว้ซึ่งบูรณภาพของจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก และเกรงว่าหากรุสเซียขยายอำนาจสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้เป็นอันตรายแก่ยุโรป เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงคอนสแตนติโนเปิล ลอร์คสแตรทฟอร์ด แคนนิ่ง (Lord Stantbrd Canning) ได้ให้ความเชื่อมั่นแก่สุลต่านว่า อังกฤษจะสนับสนุนจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก ด้วยเหตุนี้ สุลต่านจึงปฏิเสธข้อเรียกร้องของรุสเซีย

    การปฏิเสธของสุลต่านเป็นเหตุให้รุสเซียตัดสินใจใช้กำลังทหารบุกเข้าไปในดินแดนวัลเลเซียและมอลเดเวียและส่งกองทัพเรือเข้าไปในบริเวณช่องแคบบอสพอรัส กองทัพเรือของทั้งสองประเทศได้ส่งกองทัพเรือไปยังอ่าวเบสิกาพร้อมที่จะเข้าช่องแคบเพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของรุสเซียในคาบสมุทรบอลข่าน และเพื่อรักษาดุลอำนาจ รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนในจักรวรรดิออตโตมานเตอร์ก จากแผนการของจักรวรรดิออตโตมานเตอร์กที่ใช้เหตุกาณ์นี้ล้อให้มหาอำนาจขัดแย้งกันเองประสบความสำเร็จ และความล้มเหลวของออสเตรียที่พยายามยุติข้อพิพาทลงบนโต๊ะประชุมที่กรุงเวียนนา สงครามระหว่างจักรวรรดิออตโตมานเตอร์กกับรุสเซียจึงเกิดขึ้นในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1853

    สงครามระยะแรกเป็นการรบกันระหว่างจกรวรรดิออตโตมานเตอร์กกับรุสเซียกองทัพเรือรุสเซียภายใต้การนำของนายพลเรือปอล นาไฮมอฟ (Admiral Paul Nakhimov) สามารถทำลายกองทัพเรือของพวกเตอร์กในการรบที่อ่าวชีโนป ในทะเลดำได้อย่างง่าย ทำให้ทหารเรือเตอร์อกเสียชีวิตถึง 4,000 คน ความปราชัยอย่างย่อยยับของกองทัพเตอร์กและการเสียชีวิตของทหารเตอร์กจำนวนมาก ทำให้มติมหาชนในอังกฤษโกรธแค้นรุสเซียเพราะเห็นเป็นการรังแกผู้ไม่มีทางต่อสู้เลย ชาวอังกฤษจึงเรียกร้องให้โต้ตอบรุสเซียอย่างรุนแรง ส่วนฝรั่งเศสก็ไม่ต้องการเสียโอกาสนี้ กองทัพเรืออังกฤษและฝรั่งเศสจึงเคลื่อนทัพสู่ทะเลดำในเดือนมกราคม ค.ศ. 1854 และยื่นคำขาดให้รุสเซียถอนทหารออกจากวัลเลเซียและมอลเดเรีย แต่รุสเซียเพิกเฉยไม่ให้คำตอบ อังกฤษและฝรั่งเศสจึงประกาศสงครามกับรุสซียในวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1854

    อังกฤษและฝรั่งเศสพยายามดำเนินการเจรจาทางการทูตเพื่อโน้มน้าวให้ออสเตรียเข้าร่วมรบกับฝ่ายตน เช่นเดียวกับรุสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของออสเตรียก็หวังว่าออสเตรียจะให้การสนับสนุนตน แต่รุสเซียก็ผิดหวังเพราะออสเตรียหวาดระแวงรุสเซียที่เข้ายึดดินแดนวัลลาเซียและมอลเดเวีย จึงบีบให้รุสเซียถอนทหารออกจากดินแนดทั้งสอง รุสเซียไม่ต้องการเผชิญศึกอีกด้านจึงยอมถอนทหารออกจากวัลลาเซียและมอลเดเวีย กองกำลังของออสเตรียได้เข้าไปแทนที่ทันที และหลังจากนั้นออสเตรียได้ประชุมร่วมกับอังกฤษและฝรั่งเศสที่กรุงเวียนนา และได้ทำข้อตกลงขึ้น 4 ประการ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1854 มีเนื้อหาสำคัญคือจัดให้มีการปกครองร่วมกันของมหาอำนาจในดินแดนที่รุสเซียครอบครองอยู่ ให้เสรีในการเดินเรือในแม่น้ำดานูบ ทบทวนแก้ไขข้อตกลงบริเวณช่องแคบที่เกี่ยวกับสิทธิของรุสเซียในทะเลดำ และให้รุสเซียยกเลิกสิทธิการเข้าไปคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิออสโตมานเตอร์กเพียงผู้เดียวโดยให้สิทธินี้แก่มหาอำนาจทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวรุสซียไม่สนใจ เพราะเชื่อมั่นว่ารุสเซียสามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสได้ ปรากฏว่าสงครามได้ยืดเยื้อ และกองทหารทั้งสองฝ่ายล้มตายลงเป็นจำนวนมากจาการสู้รบและโรคระบาด

    สงครามเกิดขึ้นได้ง่ายแต่ยุติได้ยาก จึงเปิดทางให้กับผู้ฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์จากสงครามในสงครามไครเมียก็เช่นกัน คาวัวร์ นายกรัฐมนตรีของซาร์ดิเนียเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่จะนำประเทศเข้าร่วมวงกับมหาอำนาจเพื่อเปิดทางไว้สำหรับการรวมอิตาลีในอนาคตและการเข้าร่วมรบของซาร์ดิเนียก็เป็นความพึงพอใจของอังกฟาที่จะใช้ถ่วงดุลกองกำลังฝรั่งเศสที่มีมากเกินไป และใช้เป็นเครื่องมือบีบออสเตรียให้เข้าร่วมรบกับฝ่ายตน ผลก็คือออสเตรียได้เข้าร่วมรบกับอังกฤษและฝรั่งเศส โดยมีข้อแม้ว่าชาติทั้งสองต้องค้ำประกันดินแดนอิตาลีของตน

    รุสเซียต้องต่อสู้ในสงครามไครเมียอย่างโดดเดี่ยวและพยายามต่อต้านกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรอย่างเข้มแข็ง การร่วมรบในสงครามเพื่อเข้ายึดเมืองเซวาสโตโปล (Sevastopol) ของกองทัพพันธมิตรจึงต้องใช้เวลาถึง 349 วัน จึงประสบความสำเร็จ ความพ่ายแพ้ของรุสเซียครั้งนี้นำไปสู่การเจรจาเพื่อยุติสงคราม

    ซาร์นิโคลัสที่หนึ่งของรุสเซียเสด็จสวรรคตในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1855 ก่อนที่สงครามจะสิ้นสุดลงและได้มีข่าวลือออกมาว่าพระองค์ทรงปลงพระชนม์ชีพเพราะไม่สามารถเผชิญกับความหายนะของรุสเซียจากการพ่ายแพ้ของสงครามได้ ภาระในการแสวงหาสันติภาพจึงตกแก่พระโอรสอเล็กซานเดรอ์ที่สอง และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1856 การเจรจาสันติภาพเริ่มขึ้นและมีการลงนามในสนธิสัญญาปารีสเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1856 มีสาระสำคัญคือให้แม่น้ำดานูบเป็นน่านน้ำเสรี ให้ทะเลดำเป็รเขตปลอดทหาร ให้วัลลาเซีย มอลเดเวียและเซอร์เบียมีสิทธิปกครองตนเองภายใต้การดูแลของจักรสรรดิออสโตมานเตอร์กและรับรองเอกราชและบูณณภาพของจักรวรรดิออสโตมานเตอร์ก รุสเซียยอมสละ
สิทธฺในการคุ้มครองคริสต์ศาสนิกชนโดยสุลต่านให้สิทธิแก่คริสต์ศาสนิกชนเท่าเทียมชาวมุสลิม

    ความพ่ายอพ้ในสงครามไครเมียนำความอัปยศมาสู่รุสเซียอย่างมาก รุสเซียต้องถอนตัวออกมาจากระบบยุโรป และหันมาปรับปรุงตนเองมากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายชนะคือ อังกฤษ มีฐานะมหาอำนาจที่ต้องการรักษาดุลอำนาจเอาไว้ และฝรั่งเศสได้รับเกียรติอละอำนาจ มีบทบาทสำคคัญในการเมืองระหว่างประเทศอีกครั้งหลังการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา ส่วนออสเคชตรียกลายเป็นประเทศที่ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว สูญเสียพันธมิตรทั้งหมด และจักรวรรดิออสโตมานเตอร์ก แม้จะรอดพ้นจากการถูกแบ่งแยก แต่ยังคงเป็น “คนป่วยวแห่งยุโรป” และอ่อนแอลงเรื่อยๆ สำหรับซาร์ดิเนียได้รับการยอมรับในยุโรปมากขึ้น

    สงครามไครเมียสิ้นสุดลงด้วยความสูญเสียทางทหารของทั้งสองฝ่ายเป็นจำนวนมาก รุสเซียเสียทหารไป 250,000 คน อังกฤษ 20,000 คน ฝรั่งเศส 95,000 คน ออสโตมานเตอร์ก 30,000 คน และทหารเสียชีวิตจากโรคระบาดมากกว่าการสู้รบ ในสงครามไครเมียได้เกิดโรงพยาบาลสนามขึ้น ซึ่งเป็นผลงานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florcnce Nightingale) และเป็นผลให้มีการปรับปรุงด้านการแพทย์และการพยาบาล จนทำให้เกิดวิชาชีพพยาบาลที่ทันสมัยขึ้น ทั่วยุโรป และอาชีพพยาบาลสำหรับสตรีเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น นอกจากนี้สงครามไครเมียยังทำให้เกิดผลงานวรรณกรรมขึ้นเช่นกัน คือ Sevastopol Tales โดยลิโอ ดอลสตอย และ The Chargc of rhe Light Brig.rde โดยลอร์ดอัลเฟรด เทนนิสัน
ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องราวของมนุษย์ทั้งที่ประสบผลสำเร็จและความผิดพลาด เพื่อให้บทเรียนแก่มนุษย์ไม่ให้เดินย้อนรอยอดีตที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตามแม้ว่ามนุษย์ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ทั้งในแง่ความสำเร็จและความผิดพลาด สงครามจึงยากที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นเครื่องเตือนใจช่วยให้มนุษย์ยับยั้งชั่งใจหันมาเจรจาต่อรองกันมากขึ้น

อ้างอิง : ศิริพร ชนะสิทธิ์. สงครามกับประวัติศาสตร์ : กรณีสงครามไครเมีย (ค.ศ. 1853 – 1856). วารสารปาริชา, ปีที่ 14 (2), (63-66)