การปะทะในภาคตะวันออกของยูเครนที่ยืดเยื้อมานาน 5 ปีได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 13,000 คน ไดยการพบปะระหว่างผู้นำ 4 ประเทศในกลุ่มนอร์มังดี ประกอบด้วย รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศสและยูเครน ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมาได้ช่วยเปิดความหวังเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหานี้
การประชุมนอร์มังดี
นี่คือการพบปะครั้งแรกในรอบ 3 ปีของผู้นำ 4 ประเทศที่มีบทบาทและอิทธิพลมากที่สุดในการปะทะดังกล่าว โดยในการนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกีและนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้เห็นพ้องปฏิบัติคำสั่งหยุดยิงในภาคตะวันออกของยูเครนจนถึงปลายปีนี้และแลกเปลี่ยนเชลยศึก โดยกรุงเคียฟจะปล่อยเชลยศึก 250 คนเพื่อแลกกับเชลยศึก 100 คนจากโดเนสและดอนบาสส์ก่อนปลายปี 2019 และจะทยอยถอนกองกำลังติดอาวุธทั้งหมดออกจากพื้นที่ปะทะต่างๆก่อนปลายเดือนมีนาคมปี 2020 พร้อมทั้งยุติปฏิบัติการทางทหารในพื้นที่ร้อนระอุ 3 แห่ง ทำการเก็บกู้กับระเบิดและปรับเปลี่ยนจุดตรวจใหม่ภายในเวลา 30 วันเพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางผ่านแดนและสนับสนุนกิจกรรมมนุษยธรรมและเห็นพ้องเข้าร่วมการพบปะสุดยอดของกลุ่มนอร์มังดีที่จะจัดขึ้นภายใน 4 เดือนนับจากนี้
สร้างความไว้วางใจระหว่างกัน
ในความเป็นจริง ความคืบหน้าดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังคือยุติการปะทะทันที ซึ่งมีความหมายสำคัญเป็นอย่างมากเพราะช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างกัน โดยเฉพาะความไว้วางใจระหว่างรัสเซียกับยูเครน ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนได้ตกเข้าสู่ภาวะตึงเครียดมาตั้งแต่ปี 2014 เนื่องจากรัสเซียผนวกรวมไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนหลังการหยั่งเสียงประชามติเกี่ยวกับการเรียกร้องเอกราชของไครเมีย แม้กระทั่ง เมื่อปีที่แล้ว นาย เปโตร โปโรเชนโก ประธานาธิบดียูเครนในขณะนั้นได้ประกาศหลังเหตุปะทะระหว่างสองฝ่ายบริเวณช่องแคบเคียร์ชว่า “ยูเครนกำลังสุ่มเสี่ยงตกเข้าสู่สงครามอย่างรอบด้านกับรัสเซีย” ดังนั้น การพบปะสุดยอดทวิภาคีระหว่างประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน กับประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี นอกรอบการประชุมของกลุ่มนอร์มังดีในครั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมครั้งประวัติศาสตร์ สร้างหัวเลี้ยวหัวต่อให้แก่การปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครนและกระบวนการสันติภาพในภาคตะวันออกของยูเครน ในการแถลงข่าวร่วมกันหลังการประชุมนอร์มังดี ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้ประเมินว่า กระบวนการไกล่เกลี่ยกำลังดำเนินไปอย่างถูกทิศทางผ่านก้าวเดินที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เช่น การแลกเปลี่ยนเชลยศึกและการถอนทหารออกจากพื้นที่ร้อนระอุ 3 แห่งในเขตชายแดนตามข้อตกลง ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล ได้ให้ข้อสังเกตว่า กลุ่มนอร์มังดีได้มีก้าวเดินน่ายินดีในปัญหาดอลบาสส์แล้ว
ความคืบหน้าในภาคสนาม
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม กลุ่มฝ่ายค้านในตะวันออกยูเครนได้ยืนยันว่า พร้อมแลกเปลี่ยนเชลยศึกกับกรุงเคียฟตามข้อตกลงระหว่างประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศ โดยจะแลก 58 คนกับ 88 คนในปลายปีนี้ ซึ่งถือเป็นก้าวเดินที่มีความเป็นไปได้เพราะในเวลาที่ผ่านมา รัสเซียและยูเครนได้แลกเปลี่ยนเชลยศึกทั้งหมด 70 คน ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูตินว่า “เป็นก้าวเดินที่มุ่งสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้เป็นปกติ” โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัสเซียได้แจ้งว่า จะคืนเรือของกองทัพเรือยูเครน 3 ลำที่รัสเซียยึดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2018 ซึ่งได้ช่วยลดความตึงเครียดระหว่างสองประเทศและส่งผลดีต่อภาพรวมของภาคตะวันออกยูเครน ส่วนรายงานอื่นๆปรากฎว่า ในหลายวันที่ผ่านมา สถานการณ์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกยูเครนอยู่ในภาวะที่สงบ ซึ่งสะท้อนการขานรับอย่างเต็มที่ของทุกฝ่ายในภาคสนามต่อคำมั่นทางการเมืองที่ผู้นำทั้งสองประเทศได้บรรลุ
ศักยภาพ
แม้ยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ แต่ความคืบหน้าที่น่ายินดีทั้งบนโต๊ะเจรจาและภาคสนามได้แสดงให้เห็นว่า ประชามติสามารถตั้งความหวังในการแก้ไขการปะทะที่นองเลือดและยืดเยื้อในตลอดครึ่งทศวรรษที่ผ่านมาในภาคตะวันออกของยูเครน นี่จะเป็นก้าวเดินแรกที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่การยุติวิกฤตและความปวดร้าวของชาวยูเครนนับหมื่นคน.