สหพันธรัฐรัสเซีย

soviet x russia

สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของทวีปยุโรป และทางเหนือของทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เป็นสองเท่าของอันดับสอง คือ ประเทศแคนาดา) เดิมเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีอิทธิพลที่สุดของโซเวียต

ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร (ศตวรรษที่ 9 – ศตวรรษที่ 13)
ศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเคียฟ

ยุคแห่งการตั้งอาณาจักร ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถื่นฐานในรัสเซีย บริเวณแม่น้ำดนีเปอร์ และแม่น้ำโวลก้าทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติแสกนดเนเวีย และไวกิ้งที่รู้จักในนามวาแรนเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณลำน้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วในปีค.ศ.880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียน ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟ และได้ตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวงโดยผนวกดินแดนเหนือและใต้เข้าด้วยกัน แล้วขนานนามว่า The Rus

ในปี ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดิมีร์ โมโนแมกค์ ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์โณดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย

สมัยอาณาจักร (ศตวรรษที่ 13 – ศตวรรษที่ 15)
ศูนย์กลางอยู่ที่มอสโก

กษัตริย์อีวานที่ 1 – 4

อีวานที่ 1 (ค.ศ. 1328-1352) (Ivan I)

– มีฉายาว่า lvan kalita หรือ อีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล

– อยู่ภายใต้อิทธิพลของพวกมองโกล

– กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่กรุงมอสโก

อีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) (Ivan the Great)

– มองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ

– ขับไล่มองโกลจากรัสเซียได้สำเร็จ

อีวานที่ 3 หรือ อิวานมหาราช (Ivan the Great)

– สถาปนาเป็นซาร์พระองค์แรก (ซาร์ (Czar / Tzar) มาจากคำว่า ซีซาร์ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์)

– พระองค์อภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิไบแซนไทน์คนสุดท้าย ในปี ค.ศ. 1472 และรับอินทรี สองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย (ปัจจุบันเป็นตราสัญลักษณ์ทางราชการของรัสเซีย)

– ขับไล่พวกทาร์ทาร์ (Tartar) ได้สำเร็จ และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้อาณาจักรรัสเซียอีกครั้ง

อีวานที่ 4 หรืออิวานจอมโหด (Ivan the Terrible)

– ปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา

– ขยายดินแดนไปอย่างกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิมมาก

– สร้างโบสถ์เซนต์บาซิล (Saint Basil)

– เริ่มเปิดการค้ากับตะวันตก กับอังกฤษ กับ ดัชต์

ในต้นศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกล(Mongol) นำโดยบาตูข่าน (Batu Khan) เข้ารุกรานรัสเซีย และยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดจากโลกภายนอก ถูกควบคุมทางการเมืองการปกครอง และต้องจ่ายภาษีให้กับมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจมาทางตอนเหนือ ในปี ค.ศ. 1328 พระเจ้าอิวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ พระองค์ ทรงมีฉายาว่า lvan kalita หรือ อิวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการให้มองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก และไม่นานมอสโกได้กลายเป็นศูนย์การกการปกครองของรัสเซียในเวลาต่อมา
สมัยกษัตริย์ อิวานที่ 2 (Ivan II) ได้หยุดให้ของบรรณาการแก่มองโกล(Mongol) และขับไล่มองโกลได้สำเร็จแต่เวลาไม่นานพวกตาร์ตาร์(Tartar) ซึ่งเป็นชนผิวเหลืองอีกกลุ่มก็ได้เข้ามารุกรานและโจมตีกรุงมอสโก
ในปี ค.ศ. 1382 สมัยกษัตริย์ อิวานที่ 3 มหาราช  (Ivan IIIThe Great)
ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง และขับไล่พวกตาร์ตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น
สมัยกษัตริย์ อิวานที่ 3 (Ivan III)
ได้หยุดให้ของบรรณาการแก่มองโกล(Mongol)

สมัยจักรวรรดิ (ศตวรรษที่ 17 – ค.ศ. 1917)
มีศูนย์กลางอยู่ที่เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก(St. Peterburg)

ปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (Peter The Great)
( ปกครองช่วง ค.ศ. 1682-1725 )

– เริ่มต้นราชวงศ์โรมานอฟ (Romanov dynasty)

– เป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย

– เปลี่ยนประเทศจากล้าหลังไปสู่ประเทศที่ทันสมัย

– นำรัสเซียออกจากสู่ยุคกลางเข้าสู่ยุคใหม่ และสร้างความสมัยใหม่ เพื่อแข่งกับชาติยุโรปตะวันตก สร้างกองทัพเรือ

– ย้ายเมืองหลวงจากมอสโก (Moscow)ไปยังเมืองที่ติดทะเล คือ เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก(St. Peterburg) เป็นเมืองที่ติดทะเลบอลติกซึ่งสามารถเชื่อมกับประเทศยุโรปตะวันตกได้โดยง่าย

พระนางแคทเทอรีนที่ 2 หรือ แคเทอรีนมหาราช (Catherine The Great)
( ปกครองช่วง ค.ศ.1762-1796 )

– เข้าสู่อำนาจจากการโค่นอำนาจผู้เป็นสามี

– เชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก

– พัฒนาประเทศ และสร้างรัสเซียให้ยิ่งใหญ่ต่อเนื่องจากสมัยกษัตริย์ปีเตอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 1 (Alexander I)
( ปกครองช่วง ค.ศ. 1801- 1825 )

– ชนะศึกกับจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส

– ในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสความต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา และได้มีการปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้

ซาร์นิโคลัสที่ 2 ( Nicholas II )
( ปกครองช่วง 1894-1917 )

– ซาร์(Czar)องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ

– กษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซีย

– เป็นช่วงที่ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน

– ค.ศ. 1905 รัสซียพ่ายแพ้สงครามที่ทำกับญี่ปุ่น (รัสเซียเสียหน้ามาก)

– เป็นผู้นำประเทศรัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1

– เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดนกรรมกรที่นำโดยพรรคบอลเชวิค (Bolsheviks)ที่นำโดยวลาดิเมียร์เลนิน(Vladimir Lenin) ในปี ค.ศ. 1917

(การปฏิวัติรัสเซีย)

– เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ค.ศ. 1917 – ค.ศ. 1991
มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงมอสโก (Moscow)

สมัยสหภาพสังคมนิยมโซเวียต
The Union of Soviet Socialist Republics : USSR

การปฏิวัติรัสเซีย (Russian revolution ,1917)

– เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนระบอบการปกครองอันยิ่งใหญ่ของรัสเซีย

– การตัดสินใจเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่ เมื่อรัสเซีย การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมืองในที่สุดปี ค.ศ. 1917 จนรัสเซียต้องถอนตัวในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 1 จะสิ้นสุด

– เกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ของกษัตริย์นิโคลัสที่ 2 จนต้องสละราชสมบัติ

– การปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดยกรรมกรที่นำโดยพรรคบอลเชวิคที่นำโดยวลาดิเมียร์เลนิน(Vladimir Lenin) ในปี ค.ศ. 1917 (การปฏิวัติรัสเซีย)

– เป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

– จัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกี้ขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค(Bolshevik) น าโดย วลาดิเมียร์เลนิน

– เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics หรือ USSR) ปี ค.ศ. 1918

– ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (St. Peterburg) กลับสู่เมืองมอสโก (Moscow)

สาเหตุการปฏิวัติรัสเซีย (Russian revolution ,1917)
  1. การทำสงครามที่ยืดเยื้อยาวนาน

– สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russo-Japanese War) ค.ศ.1904-1905 จบลงด้วยความพ่ายแพ้ต่อญี่ปุ่น

– การเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ของรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1914 ที่รัสเซียต้องทุ่มเทและใช้ทรัพยากรและงบประมาณไปมาก (รัสเซียจึงมักเป็นฝ่ายที่ได้รับความเสียหายในการรบอย่างมาก) และการที่รัสเซียเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งที่ไม่มีความพร้อม การรบไม่มีประสิทธิภาพ ขาดแคลนอาวุธ ส่งผลให้ทหารรัสเซียจำนวนมากเสียชีวิตมาก และพ่ายแพ้ในสมรภูมิรบ และผลจากสงครามระยะยาวต่อเนื่องทำให้เศรษฐกิจของรัสเซียตกต่ำ

  1. ปัญหาเศรษฐกิจ และ ความวุ่นวายภายในประเทศ

– ผลของสงครามที่รัสเซียเข้าร่วม ทำให้ เศรษฐกิจของรัสเซียย่ำแย่ลงมาก เกิดการขาดแคลนอาหาร การว่างงาน โรงงานปิดลง เกิดสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงและค่าครอง ชีพที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขาดแคลนถ่านหินและเชื้อเพลิง (ซึ่งจำเป็นมากที่ต้องใช้ในช่วงฤดูหนาวที่หนาวจัด) เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ความสัมพันธ์ ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ดีและถูกเอาเปรียบ

  1. ความล้มเหลวในการบริหารประเทศ

ความล้มเหลวในการบริหารประเทศของรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาได้และเพิกเฉยต่อปัญหาต่าง ๆเหล่านี้ นำมาซึ่งความไม่พอใจในระบบการปกครองที่ไร้ประสิทธิภาพของราชวงศ์โรมานอฟ ของกษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2

– ประชาชนเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้รัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นปกครองประเทศ รัฐบาลยังต้องเผชิญปัญหาจากความไม่พอใจของกลุ่มชาวนา และกรรมกรที่ต้องแบกภาระภาษีของประเทศไว้ กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ประทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชน และจัดตั้งสภาดูมา (DUMA) ขึ้นมาเพื่อเป็นปากเสียงของประชาชน แต่พระองค์เป็นกษัตริย์กึ่งรัฐธรรมนูญ ทำให้ประชาชนไม่พอใจใน กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 และต่อมากษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 เกิดความขัดแย้งกับสภาดูมา จึงยุบสภาและแต่งตั้งตนเองเข้าไปแทน

– เกิดปัญหาภายราชสำนัก กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 ความไร้ความสามารถในการปกครอง และอำนาจการปกครองส่วนใหญ่จึงตกอยู่กับราชินีซารีนาอเล็กซาตรา ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลการครอบงำของรัชปูติน ทำให้เกิดการวิภาควิจารณ์อย่างกว้างขวาง

เหตุการณ์การปฏิวัติรัสเซีย (Russian revolution ,1917)

การปฏิวัติระยะที่ 1 (กุมภาพันธ์ ค.ศ.1917 )

– การเดินขบวนประท้วงของพวกสาวโรงงาน (กรรมกรหญิงในกรุงเปโตรกราดชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการเข้าร่วมในสงครามโลก ครั้งที่ 1 และแก้ไข

ปัญหาความอดอยากขาดแคลนอาหาร -> แต่ฝ่ายรัฐบาลสั่งการให้ปราบปรามอย่างรุนแรง -> เมื่อเหตุการณ์บานปลายมีประชาชนได้รับบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก -> กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 จึงสละราชสมบัติตามคำแนะนำของสภาดูมา (Duma) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.1917 และเหตุการณ์ร้ายแรงดังกล่าวจึงยุติลง -> จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล

การปฏิวัติระยะที่ 2 (ตุลาคม ค.ศ.1917 )

ความล้มเหลวของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาของประเทศ วิกฤติทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเข้าร่วมในสงคราม รัสเซียประสบปัญหาหนี้สินจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง อาหารและสินค้าอุปโภคขาดแคลนและมีราคาสูงทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

– พรรคบอลเชวิคปลุกระดมประท้วงเพื่อต่อต้านสงคราม นำโดยวลาดิเมียร์เลนิน ผู้นำการปฏิวัติ ชูคำขวัญการปฏิวัติ ” เพื่อสันติภาพ ที่ดิน และขนมปัง ” (สื่อให้เห็นว่าชาวรัสเซียต้องการสันติภาพ ไม่อยากทำสงคราม อิสรภาพในการครอบครองที่ดินของตน เพราะว่าปี ค.ศ. 1917 รัสเซียยังใช้ระบอบฟิวดัลอยู่ ในขณะที่ชาติอื่นๆ นั้นมีการปฏิวัติกันไปหมดแล้ว และขนมปังแสดงถึงความอดอยากของประชาชนชาวรัสเซียอย่างมาก หลังจากปฏิวัติเสร็จรัฐบาลจึงรีบจัดสรรที่ดินโดยทันที) ฝ่ายปฏิวัติได้เข้าโจมตีพระราชวังฤดูหนาวและล้อมจับคณะรัฐบาล และทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ นำหลักการของคาร์ล มาร์กซ์ มาใช้ปกครองประเทศ

– ในปี ค.ศ. 1918 กษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 ของรัสเซีย และพระราชวงศ์ทุกพระองค์ของราชวงศ์โรมานอฟถูกสังหารหมู่ ในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1918

ผลของการปฏิวัติรัสเซีย (Russian revolution ,1917)

– พรรคบอลเชวิคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมูนิสต์รัสเซียเป็นประเทศแรกที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์

– เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลคอมมูนิสต์กับพวกรัสเซียขาว (White Russians) ประกอบด้วยพวกนิยมกษัตริย์ พวกนิยมเสรี ที่ต้องการให้รัสเซียมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พวกรัสเซียขาวไม่สามารถรวมตัวกันได้ จึงทำให้รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงอำนาจไว้

– กรรมกรได้รับอนุญาตให้เข้าควบคุมโรงงาน

– ทรัพย์สินของวัดและของพวกต่อต้านรัฐบาลถูกยึดเข้ารัฐบาล

– พรรคคอมมิวนิสต์มีความเห็นว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นการต่อสู่ระหว่างนายทุนด้วยกันเอง แต่ก็ได้ส่งผลให้ชาวรัสเซียทนทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บ

ล้มตายเป็นเวลานานถึง 4 ปี ชาวรัสเซียต้องการสันติภาพ จึงถอนตัวออกจากการร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1

– ท าสนธิสัญญาสงบศึกกับเยรมนีเบรสท์-ลิทอป (The Treaty Of Brest-Litovsk)

– ฟินแลนด์ แอสโทเนีย ลัทเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์และยูเครนเป็นเอกราช

– ฮาร์ดาฮาน บาทัม คาร์ส ดินแดน 3 แห่งบริเวณคอเคซัสต้องยกให้ตุรกี

– เมื่อเสียดินแดนมาก รัสเซียจึงเสียประชาการ 1 ใน 4 เสียดินแดนในยุโรป 1ใน 4 เสียเหมืองแร่เหล็กและถ่ายหินที่พัฒนาแล้ว 3 ใน 4

– ต่อมา 25 ปี รัสเซียได้ดินแดนที่เสียไปคืนมาทั้งหมด ยกเว้นฟินแลนด์

วลาดิเมียร์เลนิน (Vladimir Lenin)

(เป็นผู้นำช่วงปี ค.ศ.1917-1924)

– ผู้นำพรรคบอลเชวิค (Bolshevik)

– ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ค.ศ. 1917

– เป็นการปฏิวัติที่มีฐานจากชนชั้นกรรมกรตามแนวคิดของมาร์กซ์(Marxism)

– เป็นผู้นำโค่นล้มกษัตริย์ซานิโคลัสที่ 2 และ นำการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มาใช้ในรัสเซียเป็นชาติแรกของโลก

– ในปี ค.ศ. 1922 ได้เปลี่ยนรัสเซีย ให้เป็น ประเทศสหภาพสังคมนิยมโซเวียต (The Union of Soviet Socialist Republics : USSR)

– เป็นผู้นำสหภาพสังคมนิยมโซเวียตคนแรก

– เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1924

โจเซพ สตาลิน (Joseph Stalin)

(เป็นผู้นำช่วงปี ค.ศ.1924-1953) เป็นผู้นำโซเวียตที่ยาวนานที่สุด

– เป็นผู้นำรุ่นที่ 2 ของสหภาพโซเวียต

– ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน

– เปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนสามารถพัฒนาวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมได้เทียบเคียงประเทศสหรัฐอเมริกาได้

– วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เทคโนโลยีอวกาศ พัฒนาอย่างมาก

– ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จต่อจากสหรัฐอเมริกา (ปี 1949)

– ผู้นำประเทศเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2

– แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้าย เมื่อ อดอฟ ฮิต เลอร์สั่งล้อมกรุงมอสโคว์ไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะที่นครเซนปีเตอร์สเบิร์ก ถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้น ว่า The Great Patriotic War

– มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร

– เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปยังประเทศต่าง ๆ และมีการแทรกแซงทางการเมือง ทั้งในยุโรปตะวันออก เอเชีย และ ประเทศโลกที่ 3

– ทำการเข้าแทรกแซงทางการเมืองในหลายประเทศโดยเฉพาะยุโรปตะวันออก ทำให้ประเทศเหล่านี้กลายเป็นคอมมิวนิสต์

– เป็นช่วงที่มีความตรึงเครียดระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และ โลกคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียตเป็นอย่างมาก และสร้างบรรยากาศความตึงเครียดไปทั่วโลก

– ก่อตั้ง สนธิสัญญาวอร์ซอ ( Warsaw Pact) (1955) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อคานอำนาจกับองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO)

– ตั้ง Cominform (1947) (Communist Information Bureau) และ COMECON (1949)

– มีการสร้างกำแพงเบอร์ลิน และมีการปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตกของสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 (วิกฤตการณ์เบอร์ลิน)

– เข้าแทรกแซงและช่วยเหลือฝ่ายคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเกาหลี

นิกิต้า ครุสชอฟ (Nikika Khrushchev)

– ผู้นำคนที่ 3 ช่วง ปี ค.ศ. 1953-1964

– มีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน เป็นสมัยที่ผ่อนคลายความตรึงเครียดในยุคสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกาลง ผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน

– การดำเนินนโยบาย “การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ” (Peaceful Co-existence) เพื่อ ความตึงเครียดระหว่างสองฝ่าย (โลกเสรีประชาธิปไตย และ โลกคอมมิวนิสต์) – ประณามหลักการหลายอย่างสมัยสตาลิน – ในปี ค.ศ. 1960 ความขัดแย้งระหว่างโซเวียตกับจีนเริ่มปรากฎขึ้น

– ส่งยานอวกาศออกนอกโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

– ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้สร้างดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อว่า “สปุตนิก 1″และโซเวียตได้ส่งมันสู่อวกาศเป็นครั้งแรก ในปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตได้ประดิษฐ์ดาวเทียมที่ชื่อว่า “สปุตนิก2” พร้อมกับได้ส่งสุนัขชื่อ “ไลก้า” ไปพร้อมกับดาวเทียมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก

– ค.ศ. 1961 โซเวียตได้สร้างยานวอสต็อก1แล้วส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกพร้อมกับได้ส่ง ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) ไปโคจรรอบโลกพร้อมกับยานวอสต็อก1 ด้วย ยูริ กาการินจึงเป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่ออกไปนอกโลก

– นโยบายที่ผิดพลาดของเขา คือ การลอบนำเอาขีปนาวุธพิสัยกลางไปติดตั้งไว้บนเกาะคิวบาในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1962 วิกฤตการณ์คิวบา (The Cuban missile crisis, 1962)จนเกิดความไม่พอใจต่อสหรัฐอเมริกาจนสหรัฐอเมริกา ต้องยืนคำขาดให้โซเวียตถอนการติดตั้ง และในที่สุดโซเวียตก็ต้องยอม

ลีโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev)

ผู้นำโซเวียต รุ่นที่ 4 ช่วง ค.ศ. 1964-1982

– ค.ศ. 1964 ที่ประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้เลือกเบรสเนฟเป็นเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์แทน ครุสชอฟ ที่ถูกปลดออกเนื่องจากดำเนินนโยบายผิดพลาดหลายประการ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกานั้น

– ความแตกแยกในค่ายคอมมิวนิสต์ระหว่างโซเวียตกับจีน ที่เริ่มปรากฏตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เมื่อจีนสามารถทดลองระเบิดปรมาณูสำเร็จและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1964 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็เสื่อมลง จนถึงขึ้นปะทะกันโดยตรงด้วยกำลังในปี ค.ศ. 1969 จากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็นผู้นำในโลกคอมมิวนิสต์ ระหว่างจีนกับโซเวียต มีผลทำให้ความเข้มแข็งของโลกคอมมิวนิสต์ลดน้อยลง และมีส่วนผลักดันให้จีนเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ ไปสู่การปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในที่สุด

– นำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด(Detente)

– เป็นยุคการเมืองแบบสามขั้วอำนาจ (สหรัฐอเมริกา – โซเวียต – จีน)

– ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจเริ่มคืนสู่สภาวะปกติ โดยใช้วิธีการหันมาเจรจาปรับความเข้าใจกัน ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับที่เอื้อต่อผลประโยชน์ และความมั่นคงปลอดภัยของ ประเทศตน ระยะนี้จึงเรียกว่า “ระยะแห่งการเจรจา” (Era of Negotiation) หรือระยะ “การผ่อนคลายความตึงเครียด” (Detente) โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งเป็นผู้ปรับนโยบายจากการเผชิญหน้ากับโซเวียต มาเป็นการลดความตรึงเครียดในความสัมพันธ์ต่อกัน

– ในปี ค.ศ. 1972 เป็นสมัยที่สหรัฐอเมริกาเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน (เยือนจีน ค.ศ. 1972 และเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1979) และ ในปีเดียวกันสหรัฐเยือนสหภาพโซเวียต แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตกับจีนยังมีปัญหาอยู่

– ค.ศ. 1973 เบรสเนฟเดินทางไปเยือนอเมริกาสมัยประธานาธิบดีเจอรัลด์ฟอร์ด และได้มีการลงนามในเอกสารหลายฉบับรวมทั้งสัญญาการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ (SALT) ในเวลาต่อมาด้วย

– ค.ศ. 1979 โซเวียต ทำการบุกอัฟกานีสถาน เพื่อให้การสนับสนุนฝ่ายการเมืองที่อยู่ข้างโซเวียตต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มมุสลิมมูจาฮีดีน(ที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา จีน และชาติมุสลิมอื่นๆ) จนเกิดสงครามยาวนานกว่า 10 ปี และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1989 ด้วยการที่โซเวียตต้องยอมถอนกองกำลังออกจากอัฟกานีสถานอันเนื่องมาจากประชาชนของ โซเวียตนั้นเริ่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยืดเยื้อและ ไม่มีท่าที จะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ และครั้งนี้เป็นถือเป็นบทเรียนที่ทำให้โซเวียตเสียหน้าอย่างมาก หลังจากการถอนกองกำลังออกจากอัฟกานีสถาน

มิคาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)

ผู้นำโซเวียตคนสุดท้ายของโซเวียต ช่วง ค.ศ. 1985-1991

– เป็นสมัยที่สหภาพโซเวียตมีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างมากที่สะสมมานานก่อนหน้านี้

– ริเริ่มการปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจหลายอย่างภายในประเทศ ภายใต้แผนการกลาสนอสต์ (Glasnost)และ

เปเรสตรอย (Perestroika)

– เป็นสมัยที่มีการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (จนแตกออกเป็น 15 สาธารณรัฐ คือ รัสเซีย + 14 ประเทศ)

– เป็นยุคที่สิ้นสุดลงครามเย็น

– สมัยที่มีการทำลายกำแพงเบอร์ลิน และ การล่มสลายของการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศในยุโรปตะวันออก

– มีการถอนกองกำลังออกจากอัฟกานีสถาน ที่เกิดสงครามยาวนานกว่า 10 ปี และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1989 ด้วยการที่โซเวียตต้องยอมถอนกองกำลังออกจากอัฟกานีสถานอันเนื่องมาจากประชาชนของโซเวียตนั้นเริ่มไม่พอใจกับสงครามซึ่งยืดเยื้อและ ไม่มีท่าที จะประสบความสำเร็จนอกจากการสูญเสียของทหารไปเรื่อยๆ และครั้งนี้เป็นถือเป็นบทเรียนที่ทำให้โซเวียตเสียหน้าอย่างมาก หลังจากการถอนกองกำลังออกจากอัฟกานีสถาน

สมัยประชาธิปไตย (ค.ศ. 1991 – ปัจจุบัน)

สหภาพโซเวียต —-> รัสเซีย

คอมมิวนิสต์ —-> ประชาธิปไตย

บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin)

– ผู้นำคนแรกของรัสเซีย (สหพันธรัฐรัสเซีย) ในยุคประชาธิปไตย ภายหลังจากการล่ม สลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991

– เป็นประธานาธิบดีคนแรกของรัสเซียที่มาจากการเลือกตั้ง

– ที่ช่วยวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยในรัสเซีย

– เป็นบิดาผู้ให้กำเนิดรัสเซียยุคใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย

– ทำการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของรัสเซียขนานใหญ่ คือ ใช้เศรษฐกิจตลาดเสรี และนำการเยียวยาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลัน การเปิดเสรีราคาและโครงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

– การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจสมัยของรัสเซียไม่สำเร็จและรัสเซียต้องประสบปัญหาทางการเงินครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1998

– นำรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก APEC

– ปลายปี ค.ศ. 1991 นำประเทศที่แตกตัวจากสหภาพโซเวียตอีก 11 ประเทศ ( ยกเว้นประเทศบอลติก 3 ประเทศ ได้แก่ ลิธัวเนีย ลัตเวีย และเอสโตเนีย ) ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States : CIS) กับรัสเซีย

– สมัยเขายังต้องต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนักกับกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่า

– เพิ่มการเปิดการไปเยือนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอย่างกว้างขวาง

– ปัญหาความมั่นคงในประเทศที่เผชิญ คือปัญหาในดินแดนเชชเนีย (Chechnya) ที่ต้องการแยกตัวออกจากรัสเซีย และ สร้างความไม่สงบการสู้รบในดินแดนเชชเนียอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการทำสงครามก่อความไม่สงบตลอดจนการก่อการร้ายในประเทศรัสเซียเอง

วลาดีมีร์ปูติน (Vladimir Putin)

– ผู้นำคนที่ 2 ของรัสเซีย (สหพันธรัฐรัสเซีย) ในยุคประชาธิปไตยภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991

– เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยแรกในปี ค.ศ. 2000

– พยายามเป็นผู้นำรัสเซียที่ยาวนานหลายสมัย จนถึงปัจจุบัน ประธานาธิบดี (สมัยแรก) -> นายกรัฐมนตรี -> ประธานาธิบดี (สมัยที่ 2)

– เป็นผู้นeรัสเซียที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ปี ค.ศ. 1991

– เป็นสมัยที่พยายามสร้างรัสเซียให้มีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจของโลก

– สร้างบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศในการค้านอ านาจกับสหรัฐอเมริกา

– แสดงบทบาทในการเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อดีตสหภาพโซเวียต เช่น กรณีการแทรกแซงการเมืองในประเทศยูเครน ปัญหาในไครเมีย (Crimea) (การผนวกไครเมียของยูเครนมาเป็นของรัสเซีย) จนนำมาซึ่งการตอบโต้ของชาติยุโรปและตะวันตกทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย เป็นต้น

– บทบาททางเศรษฐกิจ เช่น นำรัสเซียเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO) , การตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจ EEU (The Eurasian Economic Union ) ในปี ค.ศ. 2015 , การเป็นสมาชิกและร่วมตั้งกลุ่ม BRICS ,การไม่เห็นด้วยที่จะให้ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิก EU , การขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและเศรษฐกิจในหลายประเทศในแถบเอเชีย เป็นต้น

– บทบาททางการเมืองระหว่างประเทศ เช่น การพยายามเข้าแทรกแซงการเมืองและการปราบกลุ่มก่อการร้าย ISIS ในซีเรีย , การไม่เห็นด้วยที่จะให้ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตเข้าเป็นสมาชิก NATO , การสร้างความสัมพันธ์กับจีนในการถ่วงดุลกับชาติตะวันตกและสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

– ปัญหาความมั่นคงในประเทศที่เผชิญในสมัยปูติน คือ ปัญหาในดินแดนเชชเนีย(Chechnya) ที่ต้องการแยกตัวออกจากรัสเซีย และ สร้างความไม่สงบการสู้รบในดินแดนเชชเนียอย่างต่อเนื่อง ทั้งในการทำสงครามก่อความไม่สงบตลอดจนการก่อการร้ายในประเทศรัสเซียเอง

ที่มา : www.satit.up.ac.th